วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กล้วยไม้สีขาว

แก้ว (อังกฤษ: Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม
ชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)[1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด

[แก้] การกระจายพันธุ์

แก้วมีถิ่นกำเนิดจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และออสเตรเลีย มันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาได้[2]

[แก้] การปลูกเลี้ยง

สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี
  1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก
  2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

[แก้] การดูแลรักษา

ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง ชอบดินร่วนซุย หรือดินร่วนทราย ต้องการแสงแดดจัด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอน

     

ดอกชบา

ชื่อสามัญ                                Chinese rose ชื่อวิทยาศาสตร์                        Hibiscus rosa sinensis.
ตระกูล                                    MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด                                จีน อินเดียและฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
การดูแล
แสง                          ชอบแสงแดดมาก

น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์              ตอน ปักชำ

โรคและแมลง               ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด         ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

                                                      
 ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู
ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา
โรคและแมลงศัตรู1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

ดอกบานไม่รู้โรย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gomphrena globosa  L.
ชื่อสามัญ  Everlasting, Globe Amaranth
วงศ์  AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น :  กุนนีดอกขาว, กุนหยินขาว, สามเดือนดอกขาว, ตะล่อม, สามปีบ่อเหยี่ว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 2 ฟุต ลำต้นตั้งตรง กิ่งมีขนเล็กน้อย ใบเดี่ยวรูปรีปลายแหลม ขอบเรียบ มีขนนุ่มทั้งใบ ดอกเป็นกระจุกทรงกลมมีสีขาว แดง ชมพู นิยมใช้ชนิดดอกขาวทำยา ปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ดอก ทั้งต้น และราก
ดอก เก็บเมื่อดอกแก่ เอามาตากแห้ง เอาก้านดอกออกเก็บไว้ใช้ ดอกแห้งมีลักษณะกลมหรือยาวรี ส่วนมากออกเป็นช่อเดี่ยว แต่มีบางครั้งอาจติดกัน 2-3 ช่อ ดอกที่ดีคือดอกที่มีขนาดโตๆ
สรรพคุณ :
  • ดอก - รสจืด ชุ่มสุขุม
    ใช้บำรุงตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอระงับหอบหืด ขับปัสสาวะ แก้ปวดศีรษะ บิด ไอกรน แผลผื่นคัน ฝีประคำร้อย
  • ราก -  ขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ดอกแห้ง - ใช้หนัก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ทั้งต้น  - ใช้หนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ใช้ภายนอก - ใช้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง
ตำรับยา
  1. แก้หอบหืด
    ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง
  2. แก้บิดมูก
    ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อยดื่ม
  3. แก้ปัสสาวะขัดใช้ดอก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่มบ่อยๆ
  4. แก้เด็กเป็นโรคลมชัก
    ใช้ดอก 10 ดอก รวมกับตั๊กแตนแห้ง (oxya chinensis thumb.) 7 ตัว ตุ๋นรับประทาน
  5. แก้เด็กตัวร้อนตาเจ็บใช้ดอกสด 10-14 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือผสมกับฟังเชื่อมแห้ง ต้มน้ำดื่ม




ดอกโมก

การเป็นมงคล
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
การปลูก
การปลูกมี 2 วิธี
โมก
Moke

Wrightia religiosa.

APOCYNACEAE

โมกหลวง พุทธรักษา พุด
โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆ
สีขาวประทั่วต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบใบเป็นใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ
เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว
ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้อนดิน
มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกจะออกมาเป็น
คู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่
หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครอง
ปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษาดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้ง
ปวงจากภายนอกได้เช่นกัน และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมกสามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่างๆ ได้
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นโมกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์
1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ย
   หมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ เพื่อประดับบริเวณหน้าบ้าน

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :
   ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้างแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มเพราะการ
   เจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป
แสง                         ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                          ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง

ปุ๋ย                          ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์         การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ

โรคและศัตรู             ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
  

ดอกบัวสีขาว

ดอกมะลิ

มะลิ เป็นพืชดอก พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม

[แก้] พันธุ์มะลิ

  • มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
  • มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
  • มะลิถอดลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
  • มะลิซ้อนลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
  • มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
  • มะลิทะเล
  • มะลิพวง
  ลีลาวดี หรือ ลั่นทม  (Frangipani, Plumeria, Templetree) เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน เมื่อก่อนบางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาวและจำปาขอม เป็นต้น
ลีลาวดี เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม"  เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"
         ลีลาวดี เป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี
ลีลาวดี เป็นไม้ประดับที่มีผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดใจในความงามของทรงต้น ใบ และดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์แล้วจะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกยังมีกลิ่นหอม อีกประการหนึ่งคือลีลาวดีเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร
        ในอดีตไม้ชนิดนี้จะไม่นิยมปลูกในบ้านเรือนเลย เพราะเนื่องจากความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความหมายของชื่อเดิมคือ “ลั่นทม” ทำให้ลั่นทมมีปลูกไว้เฉพาะในวัด และตามโบราณสถานต่าง ๆ ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาหลังจากเป็นที่รู้จักและคุ้นหู
         ในนามของ “ลีลาวดี” เพียงเท่านี้ต้นลีลาวดีก็เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดภูมิทัศน์และจัดสวนทั้งสวนในบ้าน  บริเวณตึก อาคาร รีสอร์ท สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ต่าง ๆ  นอกจากนี้ปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ความต้องการลีลาวดีขยายตัวคือ การขยายตัวของธุรกิจสปา ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าในสถานประกอบการ สปานั้นนิยมนำดอกลีลาวดีมาเป็นไม้ประดับ เนื่องจากความสวยงามของรูปทรง สีสันและกลิ่นหอมเย็น
          ด้วยราคาที่สูงอย่างต่อเนื่องของลีลาวดี ทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกลีลาวดีเพื่อการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เนื่องจากลีลาวดีต้นใหญ่นั้นหาได้ยากขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่มีต้นลีลาวดีทั้งต้นใหญ่ กิ่งชำ และเมล็ด ก็จะมีลูกค้าไปติดต่อขอซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่เกษตรกร  ในสมัยก่อน มีต้นลั่นทมเพียง 2 สายพันธุ์คือ
1. ลั่นทมขาว   อย่างที่เห็นกันตามวัดวาอาราม  ลั่นทมขาวจะชอบแดด มีความสูงตั้งแต่ 3 - 7 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านดูอวบ มีสีน้ำตาลปนเทาเป็นใบเดี่ยวรูปคล้ายหอก ยาว 20 - 30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวรูปกรวย มีกลีบดอก 5 กลีบ จะมีกลิ่นหอมมากมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก
2. ลั่นทมแดง ทุกอย่างจะเหมือนลั่นทมขาว ยกเว้นใบ ที่บางครั้ง จะออกสีเขียวเข้ม ดอกมีสีแดงทั้งดอก ก้านออกเป็นสีม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอมทั้งสองชนิดมีอายุยืน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 กว่าปี
ดอกลีลาวดี ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติ ของประเทศลาว โดยส่วนมากจะขึ้นอยู่ตอนเหนือของประเทศ ไทยทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง


ดอกพุดซ้อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี
การปลูกเลี้ยง
พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ประโยชน์
นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง
นี่ก็ดอกพุด.อีกชนิดหนึ่ง
แถมด้วยดอกไม้สีขาวอีกหลายชนิดใกล้ๆกัน
ดอกราชาวดี..สีขาว
ดอกลีลาวดีสีขาว
แทรกแซมด้วยสีแดง